วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  27  กันยายน 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

            วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอน  อาจารย์จึงให้พวกเราทำ Mind  Mapping  สรุปองค์ความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  ซึ่งดิฉันได้แบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ดังนี้

               1. ความหมายของภาษา                               
               2. องค์ประกอบของภาษา                           
               3. ความสำคัญของภาษา                             
               4. หลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ            
               5.  สื่อการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก              

ภาพผลงาน Mind  Mapping ของดิฉัน

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  20  กันยายน 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

         กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มคิดโครงร่างแนวการสอนเด็กปฐมวัยมากลุ่มละ 1 หน่วย  ซึ่งกลุ่มของดิฉันเลือกทำแนวการสอนใน  หน่วยดอกไม้  ซึ่งจะแตกออกมาเป็นหน่วยย่อยอีก 2 ด้วย  ที่ประกอบด้วย

      1. หน่วยดอกไม้อาเซียน    
               ประเทศมาเลเซีย - ดอกชบา                      
               ประเทศลาว - ดอกจำปา                            
               ประเทศไทย - ดอกราชพฤกษ์                    
               ประเทศเวียดนาม - ดอกบัว                        
               ประเทศพม่า - ดอกประดู่                            
               ประเทศสิงคโปร์ - ดอกกล้วยไม้แวนด้า      
               ประเทศอินโดนีเซีย - ดอกกล้วยไม้ราตรี    
               ประเทศบรูไน - ดอกซิมปอร์                       
               ประเทศกัมพูชา - ดอกลำดวน                     
               ประเทศฟิลิปปินส์ - ดอกพุดแก้ว                 

      2. หน่วยดอกไม้ในวันสำคัญ
               วันพ่อ - ดอกพุทธรักษา              
               วันแม่ - ดอกมะลิ                         
               วันไหว้ครู - ดอกเข็ม                   
               วันทหารผ่านศึก - ดอกป๊อปปี้      
               วันพระ - ดอกบัว                          
               วันวาเลนไทน์ - ดอกกุหลาบ       

   แผนภาพหน่วยดอกไม้   

   ภาพแผนการสอนของกลุ่มดิฉัน   

           หลังจากคิดหน่วยการเรียนได้แล้ว  อาจารย์ก็ให้เลือกหน่วยย่อยออกมา 1 หน่วย  เพื่อมาจัดทำโครงร่างแผนการสอนที่สมบรูณ์  และกลุ่มของดิฉันได้เลือกทำ  หน่วยดอกกุหลาบ  ซึ่งได้คิดชื่อหน่วยแผนการสอนออกมาให้ดูน่าสนใจเป็น  กุหลาบสื่อรัก  

   วัตถุประสงค์    เพื่อให้เด็กได้รู้ว่าดอกกุหลาบสื่อความหมายแทนความรักในวันวาเลนไทน์   
   สาระการเรียนรู้    การใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์แสดงความรัก  ที่ทุกคนยอมรับอย่างเป็นสากล   
   วิธีดำเนินการ   
          ขั้นนำ    ให้เด็กได้รู้จักดอกกุหลาบและความหมายของดอกกุหลาบ
          ขั้นสอน    คุณครูให้ดอกกุหลาบกับเด็ก  แล้วให้เด็กนำไปมอบให้กับเพื่อนที่เขารัก
          ขั้นสรุป     คุณครูและเด็กสนทนาซักถามเกี่ยวกับดอกกุหลาบวันวาเลนไทน์
   การประเมิน   การสังเกตเด็ก  ว่าเด็กสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์ได้หรือไม่

ภาพการทำงานของกลุ่มดิฉัน




ภาพการนำเสนองานของกลุ่มดิฉัน






วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่14

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  13  กันยายน 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

           วันนี้อาจารย์เบียร์ให้พวกเราจับกลุ่มกัน   กลุ่มประมาณ 8 คน  แล้วอาจารย์ได้แจกกระดาษแผ่นใหญ่มากลุ่มละ 1 แผ่น  เพื่อนำมาชวนกันคิดศูนย์การศึกษาในห้องเรียน  โดยให้แต่ละศูนย์ที่คิดมานี้ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กด้วย  

            กลุ่มของดิฉันเลือกที่จะทำศูนย์บทบาทสมมติ  อาชีพในฝันซึ่งเด็ก ๆ ที่เข้ามาเล่นในศูนย์บทบาทสมมตินี้เด็กจะได้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ศูนย์บทบาทสมมตินี้จะประกอบไปด้วย

              1. มุมคุณครู  เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้แสดงเป็นคุณครูที่มีการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนที่เป็นนักเรียน  
             2. มุมหมอ  ที่จะมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นของเล่นให้เด็กได้เล่นด้วยกัน  และหนังสือที่เกี่ยวกับคุณหมอ  หรือพยาบาลไว้ให้เด็กได้ศึกษา
              3. มุมทหาร  ซึ่งมีอุปกรณ์เป็นปีน  และรถถังของเล่น  พร้อมทั้งหนังสือเกี่ยวกับทหาร 
              4. มุมชาวนา  ให้เด็ก ๆ ได้รู้ถึงวิถีชีวิตของชาวนา  และเห็นคุณค่าของการปลูกข้าว


 ภาพการทำงานของกลุ่มดิฉัน


ผลงานของกลุ่มดิฉัน


วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  6  กันยายน 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเปนองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา

หลักการ  (หรรษา  นิลวิเชียร,2535)
  • สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ  ปฏิบัติจริงเป็นผู้กระทำด้วยตนเอง  เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระ  ได้สังเกตและตั้งสมมติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง  เด็กควรได้สื่อสารสองทาง
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ  ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ  โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยากรณ์
  • สื่องแวดล้อมประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์หลาย ๆ รูปแบบ

มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้
และสาระทักษะทางภาษา

 ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ
         มุมหนังสือ   
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัย
  • มีบรรยากาศที่สงบ  และอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง  และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน


         มุมบทบาทสมมติ   
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ

         มุมศิลปะ    
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สีเมจิก ดินสอ ยางลบ ตรายาง ของจดหมาย ฯลฯ
  • กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและปะติต

         มุมดนตรี    
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ เครื่องเคาะจังหวะ

         หลังจากที่เรียนเนื้อหาเสร็จ  อาจารย์ก็อธิบายให้ฟังว่า  ในการสอนเด็กปฐมวัยนั้นภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ  ทั้งทางด้านการพูด การเขียน  รวมไปถึงการเรียงประโยคให้ถูกต้องได้ความหมาย  และอาจารย์ก็มีแบบการเขียนของรุ่นพี่มาให้ดูว่าควรมีลักษณะการเขียนในการสอนเด็กนั้นควรเขียนแบบไหน


            หลังจากที่อาจารย์ให้ดูผลงานของพี่ ๆ แล้ว  อาจารย์ก็ให้พวกเราลองฝึกคัดลายมือเป็นแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมในขนาดมาตรฐาน  เพราะในการสอนเด็กปฐมวัยนั้นครูผู้สอนควรมีลายมีที่สอนและอ่ายง่าย  เพื่อเป็นแบบอย่างการเขียนให้กับเด็ก ๆ

ผลงานการคัดลายมือของดิฉัน


วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12


วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  30  สิงหาคม 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

             วันนี้อาจารย์เบียร์ในพวกเราแบ่งกลุ่มประมาณกลุ่มละ 5 คน  เพื่อให้นักศึกษาในกลุ่มช่วยกันออกแบบการทำสื่อเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านภาษาที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย  ที่สามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง  โดยการคิดออกแบบสื่อนี้จะประกอบไปด้วยภาพสื่อ  ชื่อสื่อ  วิธีการเล่นสื่อ  และประโยชน์ที่ได้รับจากการเล่นสื่อ  




ภาพการทำงานร่วมกันของสมาชิกในกลุ่ม


ผลงาน อาหารสัตว์น้อย ของกลุ่มดิฉัน

ภาพการนำเสนองานของกลุ่มดิฉัน

            สื่อ อาหารสัตว์น้อย  เป็นเกมการศึกษาที่จะช่วยส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาไทย  และภาษาอังกฤษให้แก่เด็ก  เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์และอาหารของสัตว์นั้น  โดยการนำเอาตัวหนีบอาหารมาหนีบเข้ากับวงล่อสัตว์ต่างๆให้ถูกต้อง  เกมนี้นอกจากจะช่วยส่งเสริมทางด้านภาษาให้แก่เด็กแล้ว  ยังช่วยให้เด็กได้ใช้ความคิดในการจับคู่สัตว์กับอาหารและฝึกทักษะของกล้ามเนื้อเล็กในการบีบตัวหนีบ

ภาพสมาชิกในกลุ่ม

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  23  สิงหาคม 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

สื่อการเรียนรู้ทางภาษา

  ความหมาย
  • วัสดุ  อุปกรณ์  หรือวิธีการต่างๆ
  • เพื่อกระตุ้น  ส่งเสริม จูงใจให้เด็กเกิดความสนใจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
  • เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น  เพื่อถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเนื้อหาประสบการณ์  แนวคิด ทักษะ  เจตคติ

  ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา 
  • เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
  • เข้าใจง่าย
  • เป็นรูปธรรม 
  • จำได้ง่าย  เร็ว และ นาน
  ประเภทของสื่อ

         1. สื่อสิ่งพิมพ์             
  • สื่อที่ใช้ในระบบการพิมพ์
  • เด็กได้เรียนรู้จากตัวอักษร การใช้คำ  ประโยค
  • หนังสือ นิทาน หนังสือพิมพ์  แผ่นพับ  นิตยสาร  แบบฝึกหัด  พจนานุกรม

          2.สือวัสดุอุปกรณ์               
  • สื่อสิ่งของต่าง ๆ
  • ของจริง  หุ่นจำลอง  แผนที่ แผนภูมิ  ตาราง  สถิติ  กราฟ  สมุดภาพ  หุ่นมือ

           3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์        
  • สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ  อุปกรณ์ต่าง ๆ
  • คอมพิวเตอร์  เครื่องเล่นแผ่น

           4.สื่อกิจกรรม           
  • วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ  ทักษะ
  • ใช้ในกระบวนการคิด  การปฏิบัติ  การเผชิญสถานการณ์
  • เกม  เพลง  การสาธิต  สถานการณ์จำลอง   การแสดงละคร   การจัดนิทรรศการ  การแสดงผลงาน   ทัศนศึกษา

          5.สื่อบริบท            
  • สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
  • สภาพแวดล้อม
  • ห้องเรียน บุคคล ชุมชน  วัฒนธรรม
     หลังจากที่เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาเสร็จแล้ว  อาจารย์ก็ให้พวกเราเล่นเกมแยกแยะเสียง  โดยอาจารย์จะเปิดเสียงให้ฟัง  แล้วให้พวกเราทายว่าเสียงนั้นเป็นเสียงของอะไร  และอาจารย์จะเฉลยตอนทายหลังจากที่ฟังจนครบทุกเสียงแล้ว




  ภาพการเล่นเกมแยกแยะเสียง  

         พอเล่มเสร็จอาจารย์เบียร์ก็แจกกระดาษให้กับนักศึกษาคนละแผ่น  พร้อมกับสีและปากกาเมจิก  เพื่อให้พวกเราทำ pop up ตั้งได้  รูปอะไรก็ได้คนละ 1 รูป พร้อมกับคำศัพท์ของภาพนั้นๆ  และระบายสีให้สวยงาม
ภาพการทำงานของดิฉัน


ผลงาน Pop up Monkey



ผลงานการทำ Pop up ของพวกเรา

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  16  สิงหาคม 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


          วันนี้อาจารย์ให้พวกเราแบ่งกลุ่มออกเป็น  4 กลุ่ม  กลุ่มละประมาณ 10 คน  แล้วให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้องานกลุ่มที่ตนเองจะทำ  ซึ่งกลุ่มของดิฉันเลือกทำ  "Pop up  รูปกบอาเซียน"  โดยที่ในแต่ละกลุ่มจะมีธงของประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ  หลังจากทีระบายสีกบ  และทำ Pop up เสร็จก็นำธงมาติดที่แผ่นของตนเองคนละ 1 ประเทศ  และให้เขียนคำกล่าวทักทายของประเทศนั้น ๆ ตามธงชาติที่ตนเองเลือกมา  ซึ่งดิฉันเลือกทำเป็นกบของกระเทศเวียดนาม  มีคำกล่าวทักทายว่า  "ซินจ่าว"

ผลงานกบอาเซียนของดิฉัน


รวมภาพสมาชิกกลุ่ม  Pop up กบอาเซียน

          ความรู้ที่ได้รับจากการทำสื่อในวันนี้คือ  สามารถนำสื่อที่ทุกคนทำไปสอนเด็กในเรื่องของภาษาอาเซียนของแต่ละประเทศ  เพื่อตอนรับการเข้าสู่อาเซียน  และเพื่อให้เด็กได้ฝึกทัษะการสังเกตภาพหรือธงชาติของประเทศต่าง ๆ