วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  6  กันยายน 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเปนองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา

หลักการ  (หรรษา  นิลวิเชียร,2535)
  • สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ  ปฏิบัติจริงเป็นผู้กระทำด้วยตนเอง  เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระ  ได้สังเกตและตั้งสมมติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง  เด็กควรได้สื่อสารสองทาง
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ  ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ  โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยากรณ์
  • สื่องแวดล้อมประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์หลาย ๆ รูปแบบ

มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้
และสาระทักษะทางภาษา

 ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ
         มุมหนังสือ   
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัย
  • มีบรรยากาศที่สงบ  และอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง  และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน


         มุมบทบาทสมมติ   
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ

         มุมศิลปะ    
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สีเมจิก ดินสอ ยางลบ ตรายาง ของจดหมาย ฯลฯ
  • กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและปะติต

         มุมดนตรี    
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ เครื่องเคาะจังหวะ

         หลังจากที่เรียนเนื้อหาเสร็จ  อาจารย์ก็อธิบายให้ฟังว่า  ในการสอนเด็กปฐมวัยนั้นภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ  ทั้งทางด้านการพูด การเขียน  รวมไปถึงการเรียงประโยคให้ถูกต้องได้ความหมาย  และอาจารย์ก็มีแบบการเขียนของรุ่นพี่มาให้ดูว่าควรมีลักษณะการเขียนในการสอนเด็กนั้นควรเขียนแบบไหน


            หลังจากที่อาจารย์ให้ดูผลงานของพี่ ๆ แล้ว  อาจารย์ก็ให้พวกเราลองฝึกคัดลายมือเป็นแบบหัวกลมตัวเหลี่ยมในขนาดมาตรฐาน  เพราะในการสอนเด็กปฐมวัยนั้นครูผู้สอนควรมีลายมีที่สอนและอ่ายง่าย  เพื่อเป็นแบบอย่างการเขียนให้กับเด็ก ๆ

ผลงานการคัดลายมือของดิฉัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น