วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  26 กรกฎาคม 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

              วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษให้พวกเราวาดรูปอะไรก็ได้คนละรูป   หลังจากที่วาดเสร็จ  อาจารย์ก็ให้ออกมาเล่านิทานจากภาพที่ตัวเองวาด  เป็นการเล่าต่อ ๆ กันไปของเพื่อนในห้อง  โดยให้เนื้อเรื่องมีความสอดคล้องและต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน  และดิฉันก็ได้วาดรูปออกมาเป็นรูปเด็กผู้หญิงถือหัวใจดวงโต

ภาพวาดของดิฉัน

          หลังจากที่ทุกคนในห้องเล่านิทานกันครบทุกคนแล้ว  อาจารย์ก็ได้เล่านิทานเป็นนิทานเล่าไปวาดไปให้พวกเราฟัง 2 เรื่อง  เรื่องแรกเป็นเรื่องสุนัขจิ้งจอก  และเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องแมลงเต่าทอง   และเนื้อหาที่อาจารย์เบียร์สอนพวกเราวันนี้คือเรื่อง  การประเมินภาษาในเด็กปฐมวัย

 ภาพวาดจากนิทาน แมลงเต่าทอง
  
   การประเมินภาษาในเด็กปฐมวัย  

 1. การใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
 2. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
       - บันทึกสิ่งที่เด็ฏทำได้
       - การส่งเลริมให้เด็กก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้
 3. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
 4. เปิดโอกาสให้เด็กได้ประเมินตนเอง  เช่น  การแปะผลงานของเด็กไว้รอบ ๆ ห้องเรียน
 5. ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงานของเด็ก  คือ  สนใจตั้งแต่วิธีการคิดการอธิบายในแต่ละผลงานของเด็ก
 6. ประเมินเด็กเป็ฯรายบุคคล  เพราะบางครั้งไม่สามารถประเมินเด็กจากภาพรวมทั้งห้องได้
                                                     
                                                     ภาพจากกิจกรรม การคิดนอกกรอบ  


         ในตอนแรกอาจายร์เบียร์ได้ให้มาเพียงแค่จุด 9 จุด  แล้วให้เด็ก ๆ เขียนเล้นตรงจำนวน 4 เส้น โดยห้ามยกปากกาขึ้น  แล้วให้ทุกเส้นลากผ่านทุกจุด  ปรากฎว่าเมื่อทุกคนลองทำก็ไม่มีใครสามารถทำได้เพราะทุกคนกำหนดตัวเองให้ลากเส้นอยู่แค่เพียงในกรอบสี่เหลี่ยมเท่านั้น  พออาจารย์เบียร์เฉลยเส้นจึงออกมาเป็นดังภาพด้านบน  เป็นการสอนให้พวกเราเลือกคิดอะไรที่แตกต่าง  และคิดให้นอกกรอบจากคนอื่น

        ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษา
  • การเขียนตามคำบอกของเด็ก
  • การอ่านนิทานร่วมกัน
  • การอ่านคำคล้องจ้อง
  • การช่วยเด็กเขียนบันทึก
  • การเขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว  หรือเตือนความจำ
  • การร้องเพลง
  • การเล่าสู่กันฟัง
  • การเขียนส่งสารถึงกัน


วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6


วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  19 กรกฎาคม 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

  1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา  (Skill  Approch)  
  • ให้เด็กรู้จักส่วนย่อย ๆ ของภาษา
  • การประสมคำ
  • ความหมายของคำ
  • นำคำมาประกอบเป็นประโยค
  • การแจกลูกสะกดคำ  การเขียน


     Kenneth  Goodman   
  • เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
  • มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
  • แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก

   ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย  
  • สนใจอยากรู้ อยากเห็นสิ่งรอบตัว
  • ช่างสงสัย ช่างซักถาม
  • มีความคิดสร้างสรรค์และช่างจินตนาการ
  • เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและเลียนแบบคนรอบข้าง

  2. การสอนภาษาแบบธรรมชาติ  (Whole  Language) 
  • เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และการลงมือกระทำ  การเคลื่อนไหวและการสัมผัสจับต้อง
  • อิทธิพลของสังคมและบุคคลอื่นๆ  มีอิทธิพลสิงผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
  • เป็นการสอนแบบบูราการ  หรือองค์รวม
  • สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
  • สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง การพูด  การอ่าน  และการเขียนไปพร้อม ๆ กับการทำกิจกรรม
  • ไม่เข้มงวดกับการท่อง  หรือสะกด  


  หลักการของการสอนภาษาเเบบธรรมชาติ  
        1.  การจัดสภาพแวดล้อม   เด็กจะมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อม  ตัวหนังสือที่ปรากฎต้องมีเป้าหมายในการใช้จริง
         2.  การสื่อสารที่มีความหมาย  ต้องมีพื้นฐานมาจากประสบการณ์จริง  ให้เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย  
         3.  การเป็นแบบอย่าง   ผู้สอนควรใช้การอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็นว่าเป็นเรื่องสนุก
         4.  การตั้งความคาดหวัง  ผู้สอนควรเชื่อมั่นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและเขียน
         5.  การคาดคะเน  เด็กมีโอกาสทดลอง  คาดเดา  และคาดคะเนการใช้ภาษา
         6.  การใช้ข้อมูลย้อนกลับ  การตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก  ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
         7.  การยอมรับนับถือ  เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล  เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง  ไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน  ในช่วงเวลาเดียวกันเดกไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน
         8.  การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น  ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ  ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยในการใช้ภาษา  และเชือมั่นว่าตนมีความสามารถ


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  12 กรกฎาคม 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

            วันนี้อาจารย์ให้วาดรูปสิ่งที่รักและผูกพันในวัยเด็ก  และออกมานำเสนอให้เพื่อนๆฟังว่าทำไมถึงมีความผูกพันกับสิ่งนั้นๆ    และสิ่งที่ดิฉันผูกพันในวัยเด็กก็คือ  ตุ๊กตาหมี  เพราะเป็นตุ๊กตาที่ดิฉันต้องนอนกอดทุกคืน  ทำให้ดิฉันรู้ผูกพันกัตุ๊กตาตัวนี้มากๆ

ตุ๊กตาหมีของฉัน

องค์ประกอบของภาษา
        1.   Phonology  คือ ระบบเสียงของภาษา  เป็นเสียงที่มนุษย์ได้เปล่งออกมาเพื่อใช้สื่อความหมาย ซึ่งหน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
     2. Semantic  คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์  คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย  และความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
        3.    Syntax       คือ  ระบบไวยากรณ์  และการเรียงรูปประโยค
        4.    Praymatic  คือ  ระบบการนำไปใช้  ซึ่งจะใช้ภาษาได้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ

แนวคิดของนักการศึกษา
      1.    แนวคิดของนักพฤติกรรมนิยม 
                  -  Skinner  บอกว่า สิ่งเเวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและตอบสนอง
             -  John B. Watson  กล่าวถึง ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก   การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็กเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้  และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม

          นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
                  -   ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์ 
                  -   การเรียนภาษาเป้นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งเเวดล้อม  
                  -   เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
                  -    เด็กจะเรียนรู้การสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆรอบตัว
                  -    เด็กได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น

        2.     แนวคิดกลุ่มพัฒนาการสติปัญญา
                    -  Piaget   กล่าวว่า เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  และภาษาเป้นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
                            -    Vygotsty   กล่าวว่า   เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  สังคม  บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก   เน้นบทบาทของผู้ใหญ่  ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้เเนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก   
  
 3.     แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
                       -   Amold  Gesell  เน้นความพร้อมของร่างกายในการใช้ภาษา โดยความพร้อมทางวุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน    เด็กบางคนอาจีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว  เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อบกพร่อง

   4.   แนวคิดที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งเเต่เกิด
                     -   Noam  Chomsky   ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์  การเรียนภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ  มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งเเต่เกิด  เรียกว่า  LAD (Language  Acquisiton  Device)

แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
                  -   ภาษาเป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
                  -    ภาษานำไปสู่การกำหนดกระบวนการใช้อย่างแตกต่างกัน

Richard  and  Rodger  ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในารจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม
               1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา  สามารถนำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย  
               2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา  เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
               3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  5 กรกฎาคม 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

              วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานตามที่กลุ่มของตนเองได้รับมอบหมาย  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้รับมอบหมายให้นำเสนอเรื่อง  องค์ประกอบของภาษา  ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้


 ภาษา มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ 
          1. เสียง  ประกอบด้วยเสียงสระ  เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น ภาษาบาลี สันสกฤษ เขมร อังกฤษ

           2. พยางค์และคำ  พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ มีความหมายหรือไม่มีก็ได้  ส่วนคำจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้

           3. ประโยค เป็นการนำเอาคำมาเรียงกันตามโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ตามระบบของหลักไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ

           4. ความหมาย โดยความหมายของคำแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
                   4.1  ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง  เป็นความหมายของคำนั้นๆเป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน
                   4.2  ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา  เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายนัยตรง


ภาพการนำเสนอ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3


วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  28 มิถุนายน 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

เนื่องจากวันนี้ทางมหาวิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมรับน้องใหญ่  จึงทำให้ไม่มีการเรียนการสอน



ภาพการบูมเอกปฐมวัย  คณะศึกษาศาสตร์  ชั้นปีที่ 1



ภาพการถูกลงโทษของชั้นปี 2


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2


วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  21 มิถุนายน 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

            ภาษา  คือ  การสื่อความหมาย  เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก  ทักษะทางภาษาประกอบด้วยการพูด  การฟัง  การอ่าน  และการเขียน  ซึ่งความสำคัญของภาษา  ได้แก่
                1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ติดต่อสื่อสาร
                2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการรับรู้  และเรียนรู้
                3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกัน
                4. ภาษาเป็นเครื่องมือในการช่วยจรรโลงใจ

           ทฤษฎีทางสติปัญญาของ  Piaget  
               การที่เด็กมีสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางภาษาและสติปัญญา  ซึ่งกระบวนการเรียนรู้จะประกอบด้วย  2 ประการ  คือ
                1. การดูดซึม  (Assimilation)  การเรียนรู้ดูดซึมภาพจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
                2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่  (Accommodation)  ควบคู่ไปกับการดูดซึม  ปรับความรู้เดิมให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ  
                เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดสมดุล  (Eqnilibrium)  กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
           
             Piaget  ได้แบ่งพัฒนาด้านสติปัญญา  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา  ดังนี้
                1. ขั้นพัฒนาด้านสัมผัส  (Sensorimotor  Stage) อายุ 0-2 ปี  เด็กสนใจสิ่งรอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา  เรียนรูศัพท์จากสิ่งแวดล้อม
                2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล  (Properational  Stage)  
                      2.1  อายุ 2-4 ปี  (Preconceptual  Period)  เด็กใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร  เล่นบทบาทสมมติ  แสดงความรู้สึกผ่านทางสีหน้า  ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  คิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน
                      2.2  อายุ 4-7 ปี  (Intuitive  Period)  สื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง  สนใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
                3. ขั้นการคิดเป็นรูปธรรม  (Concrete  Opertional  Stage)  อายุ  7-11 ปี  เด็กสามารถแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม
                4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม  (Formal  Operational Stage)  อายุ  11-15 ปี  เด็กสามารถคิดเป็นระบบ  มีเหตุผล  สามารถใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา  เข้าใจกฎเกณฑ์สังคมืืสร้างมโนทัศน์กับนามธรรม

              พํฒนาการทางภาษาของเด็ก
                  เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นลำดับขั้น  ผู้สอนต้องเข้าใจและยอมรับ  เด็กจะใช้ศัพท์หรือไวยากรณ์ได้ไมถูกต้อง  ผู้สอนควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก

               จิตวิทยาการเรียนรู้
                   1. ควาทพร้อม  วัย  ความสามารถ  และประสบการณ์เดิมของเด็ก
                   2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล  อิทธิพลทางสังคมสิ่งแวดล้อม  และพันธุกรรม
                   3. การจำ การเห็นบ่อยๆ  ทบทวนเป้นระยะ  จัดหมวดหมู่  การใช้คำสัมผัส
                   4. การใช้แรงเสริม  ทางบวกและทางลบ


วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1



วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี  14 มิถุนายน 2556
เวลาเรียน  ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.  เวลาเลิกเรียน  12.20 น.


         วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่องความหมายของประสบการณ์ทางภาษา  ว่าการจัดประสบการณ์ทางภาษาเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจก่อน  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยจะแตกแขนงเป็นหัวข้อย่อยๆ  และอาจารย์ได้ให้พวกเราช่วยกันคิดส่วนหลักๆของประสบการณ์ทางภาษาออกมาเป็น  Mind  Maps  โดยแยกแต่ลส่วนของการจัดประสบการณ์ทางภาษา  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้แบ่งหัวข้อย่อยออกเป็น  4  หัวข้อ  และขยายหัวข้อให้ได้รายละเอียด  และอาจารย์ได้สอนการสร้าง  Blogger  และวิธีการทำ  Blog  เพื่อนำไปสร้าง Blogger  เป็นของตัวเอง




 Mind  Maps  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

แนวการสอน  (Course  Syllabus)
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา  EAED 2103