วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 21 มิถุนายน 2556
เวลาเรียน ศุกร์ 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
ภาษา คือ การสื่อความหมาย เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก ทักษะทางภาษาประกอบด้วยการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ซึ่งความสำคัญของภาษา ได้แก่
1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ติดต่อสื่อสาร
2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการรับรู้ และเรียนรู้
3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกัน
4. ภาษาเป็นเครื่องมือในการช่วยจรรโลงใจ
ทฤษฎีทางสติปัญญาของ Piaget
การที่เด็กมีสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางภาษาและสติปัญญา ซึ่งกระบวนการเรียนรู้จะประกอบด้วย 2 ประการ คือ
1. การดูดซึม (Assimilation) การเรียนรู้ดูดซึมภาพจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation) ควบคู่ไปกับการดูดซึม ปรับความรู้เดิมให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดสมดุล (Eqnilibrium) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
Piaget ได้แบ่งพัฒนาด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้
1. ขั้นพัฒนาด้านสัมผัส (Sensorimotor Stage) อายุ 0-2 ปี เด็กสนใจสิ่งรอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา เรียนรูศัพท์จากสิ่งแวดล้อม
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Properational Stage)
2.1 อายุ 2-4 ปี (Preconceptual Period) เด็กใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมติ แสดงความรู้สึกผ่านทางสีหน้า ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน
2.2 อายุ 4-7 ปี (Intuitive Period) สื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง สนใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
3. ขั้นการคิดเป็นรูปธรรม (Concrete Opertional Stage) อายุ 7-11 ปี เด็กสามารถแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเป็นรูปธรรม
4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11-15 ปี เด็กสามารถคิดเป็นระบบ มีเหตุผล สามารถใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เข้าใจกฎเกณฑ์สังคมืืสร้างมโนทัศน์กับนามธรรม
พํฒนาการทางภาษาของเด็ก
เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นลำดับขั้น ผู้สอนต้องเข้าใจและยอมรับ เด็กจะใช้ศัพท์หรือไวยากรณ์ได้ไมถูกต้อง ผู้สอนควรมองว่านั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก
จิตวิทยาการเรียนรู้
1. ควาทพร้อม วัย ความสามารถ และประสบการณ์เดิมของเด็ก
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล อิทธิพลทางสังคมสิ่งแวดล้อม และพันธุกรรม
3. การจำ การเห็นบ่อยๆ ทบทวนเป้นระยะ จัดหมวดหมู่ การใช้คำสัมผัส
4. การใช้แรงเสริม ทางบวกและทางลบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น